การศึกษาของสามเณร  
 

 ๑. การศึกษาของสามเณร 

 

“การศึกษา คือเครื่องมือพัฒนามนุษย์ (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ : ป.อ.ปยุตฺโต)

 

ข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เกิดมาแล้วต้องมีสิกขา เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องศึกษา หรือเป็นสัตว์ที่ต้องฝึกคือต้องเรียนรู้ ต้องฝึกฝนพัฒนา มีหลักการสำคัญ ๒ อย่าง คือ

๑. มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก หมายความว่า การดำเนินชีวิตอยู่ได้ตลอดจนอยู่ดีของมนุษย์แทบไม่มีอะไรเลยที่ได้มาเปล่าๆล้วนได้มาด้วยการศึกษา คือเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาขึ้นมาทั้งสิ้น

๒. มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก หมายความว่า การเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาได้นี้เป็นความพิเศษของมนุษย์ ซึ่งทำทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีงามประเสริฐเลิศล้ำ จนแทบจะเป็นอะไรได้ทุกอย่าง

 


Responsive image

การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ : ป.อ.ปยุตฺโต

 

 

การศึกษาของประเทศไทยในยุคก่อนการปฏิรูปการศึกษาถือว่าวัดคือแหล่งการศึกษาของกุลบุตร  ที่เข้ามาศึกษาที่การอ่านออกเขียนได้  วิชาช่างต่างๆ  หรือการต่อสู้ต่างๆ เช่น  มวย  ดาบ  ล้วนอาศัยวัดเป็นแหล่งการศึกษาหาความรู้  จนกระทั่งการศึกษาได้หันมาจัดการศึกษาโดยรัฐ  บทบาทการจัดการศึกษาของวัดก็หมดไป 


แต่ประเพณีการบวชเรียนก็ยังไม่หมดไปจากวัดเสียทีเดียว  ในปัจจุบันการจัดการศึกษาก็ได้จัดในรูปแบบโรงเรียนสามเณร  โดยมีเด็กเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา  หรือกลุ่มที่พ่อแม่สนใจก็ได้ให้ลูกได้เข้ามาศึกษาในโรงเรียนสามเณรด้วยการบวชเรียน “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ประยุทธ  ปยุตฺโต)  เคยปรารภว่า  วัดคือสถานที่รองรับเด็กยากจนที่สุด  มาอาศัยเพื่อได้อาหารและการศึกษา” โรงเรียนสามเณรหรือโรงเรียนพระปริยัติธรรม  ได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาการทั้งทางธรรมและทางโลก

 

ซึ่งโครงการอาหารเพลเพื่อสามเณรในชนบทได้ร่วมมือกับโรงเรียนสามเณรในจังหวัดน่านในการจัดการศึกษาทางเลือกในรูปแบบ  “เครือข่ายอาศรมสามเณร” ในการจัดการเรียนรู้ให้กับสามเณรตามความสนใจ  เช่น  ศาสนพิธีท้องถิ่น ( เช่น การสวดเบิก  การเทศน์ธรรมชาดก  การเทศน์ธรรมมหาชาติ เป็นต้น)  ช่างสิบหมู่  ช่างไม้  เกษตร  การภาวนา  เป็นต้น

วัตถุประสงค์

๑. พัฒนาสามเณรที่มีความประสงค์จะสืบต่อพระศาสนา ให้เป็นธรรมทายาทที่บริบูรณ์พร้อมทั้งความประพฤติและความรู้ในทางธรรมและศิลปวิทยาการที่เป็นสัมมาอาชีวะและวัฒนธรรมของตน
๒. พัฒนาสามเณรที่ประสงค์จะดำรงชีวิตในทางโลก ให้เป็นอุบาสกที่มีความรู้ในทางธรรมอันสมควรแก่ฆราวาส มีความประพฤติที่เหมาะสมในฐานะอุบาสก และมีความรู้ในสัมมาอาชีวะและวัฒนธรรมแห่งตน
๓. พัฒนาวัดให้เป็นศูนย์ทั้งทางธรรม ศิลปะวิทยาการ และวัฒนธรรม

การดำเนินงาน

๑. เสริมสร้างการเรียนรู้ศาสนพิธีท้องถิ่น เช่น การเทศน์ธรรมชาดก การสวดเบิก เทศน์มหาชาติ เป็นต้น
๒. การจัดประเมิน (Screening) และพัฒนา EF สามเณร โดยร่วมมือกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
๓. การพัฒนาสามเณรรายบุคคล เนื่องจากสามเณรแต่ละท่านมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน จึงเห็นควรให้ทำแผนการพัฒนารายบุคคล
๔. การอบรมวิชาชีพ มีวิชาชีพดังนี้

• ช่าง ๑๐ หมู่/ช่างไม้
• เกษตร

กลุ่มเป้าหมาย : โรงเรียนพระปริยัติธรรมพื้นที่จังหวัดน่าน


กิจกรรมต่างๆ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณร
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้