ประวัติความเป็นมา บ้านทานตะวัน
บ้านทานตะวันก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดย คุณศิริพรสะโครบาเนคผู้มองเห็นปัญหาที่กำลังเกิดกับเด็กแรกเกิดถึง ๓ ปี ที่กำลังรุนแรงคือ ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กที่ในสมัยนั้นทั้งเด็กในชุมชน หรือสังคมเรียกว่าสลัมและเด็กในชนบทตามต่างจังหวัดที่มีฐานะยากจนจะมีปัญหาในเรื่องนี้มาก เพราะพ่อแม่ของเด็กจะหาให้เด็กกินแค่อิ่มเหมือนกับตัวพ่อแม่ของเด็ก โดยไม่นึกถึงคุณค่าของอาหารที่จะได้รับ และด้วยมีฐานะที่ยากจนคือปัญหาหลักของการขาดสารอาหารของเด็ก
จากระยะเวลาการทำงานที่ผ่านของโครงการบ้านทานตะวัน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๕ พบว่าเด็กขาดสารอาหารถึงขั้นเสียชีวิตเริ่มลดลง แต่ก็ยังมีเด็กที่ขาดสารอาหาร เพราะครอบครัวเลี้ยงด้วยนมข้นหวานซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กตาบอดเพราะขาดวิตามินเอ ขณะเดียวกันปัญหาอื่น ๆ ของเด็กปฐมวัยมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่เกิดมาจากตัวเด็กเอง เช่น ปัญหาสุขภาพ การเจ็บป่วย และปัญหาที่เด็กได้รับผลกระทบจากครอบครัว เช่นการทอดทิ้งเด็ก, ถูกทำร้ายร่างและจิตใจจากครอบครัวถูกปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ทั้งการดูแลสุขภาพอาหารจึงมักจะพบว่าสาเหตุเหล่านี้นำมาสู่การขาดสารอาหารในเด็กเช่นกัน บ้านทานตะวันจึงเริ่มมีการขยายการทำงานไปสู่กลุ่มเด็กถูกทารุณกรรม, ถูกทอดทิ้ง และกลุ่มปัญหาเฉพาะหน้า เนื่องจากไม่มีคนดูแลเด็ก เพราะการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม, ครอบครัวติดเชื้อเอดส์, ครอบครัวติดยาเสพติด, ครอบครัวติดคุก เป็นต้น
ในปี ๒๕๕๐ ถึงปัจจุบัน บ้านทานตะวันได้พัฒนาการทำงานในบ้านพักฟื้นให้พร้อมสำหรับทารกและเด็กเล็กอายุตั้งแต่แรกเกิด - ๔ ปี โดยเน้นการพัฒนาเด็กและพัฒนาครอบครัว (ทางเลือก) โดยบ้านทานตะวันได้รวบรวมแนวทางการพัฒนาเด็กทางเลือกเข้ามาใช้ เช่น มอนเตสเซอรี่ , หลักสูตรการพัฒนาเด็กปฐมวัย, การพัฒนาสมอง, งานโภชนาการ เป็นต้น เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย โดยมีการเพิ่มศักยภาพให้เป็นกระบวนการดูแลเด็กให้มีพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ความคิด ศักยภาพเชิงสังคม และวัฒนธรรมของเด็ก
ด้วยการจัดปรับสภาพแวดล้อมในบ้านทานตะวันให้เป็น “บ้านที่สอง ของทารกและเด็กเล็กด้อยโอกาส” ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเอื้อต่อการพัฒนาเด็ก โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางโดยมีผู้ดูแลเด็กด้วยความรัก ความอบอุ่น และเข้าใจพัฒนาการตามวัย ร่วมกับการทำงานพัฒนาครอบครัวของเด็กร่วมกับแนวทางงานสังคมสงเคราะห์ โดยมุ่งให้เด็กได้มีโอกาสกลับเข้าไปอยู่ในครอบครัวและเติบโตในสังคมให้ได้มากที่สุด
ปี | บ้านพักฟื้น (คน) | สงเคราะห์นม (คน) |
2521-2525 | 566 | 851 |
2526-2530 | 318 | 3,932 |
2531-2535 | 293 | 1,093 |
2536-2540 | 278 | 1,002 |
2541-2545 | 208 | 2,375 |
2546-2550 | 254 | 1,714 |
2551-2555 | 318 | 2,917 |
2556-2558 2559/43/607 | 193 | 3,556 |
รวม | 2,863 | 18,047 |
อาหาร ๑ มื้อ (เข้าหรือกลางวันหรือเย็น) | ๑,๐๐๐ บาท |
อาหาร ๓ มื้อ | ๓,๐๐๐ บาท |
อาหารว่าง ๑ มื้อ | ๕๐๐ บาท |
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเด็กด้อยโอกาส
โดยการบริจาคเงินเพื่ออุปการะเด็กกับมูลนิธิเด็ก
แจ้งรับอุปการะเด็กเป็นงวดๆ ละ ๖ เดือน โดยกรอกแบบฟอร์มแจ้งความจํานง
ส่งมาให้ทางมูลนิธิเด็กทราบ ทั้งในกรณีที่บอกอุปการะเด็กครั้งแรก และครั้งต่อๆ ไป
เมื่อท่านแจ้งความจํานงบอกรับอุปการะเด็กครั้งแรก
ทางมูลนิธิเด็กจะจัดส่ง ประวัติพร้อมรูปถ่าย ไปให้ท่านโดยเร็วที่สุด
หลังจากท่านได้รับประวัติเด็กแล้ว อีก ๕ เดือนต่อมา
ทางมูลนิธิเด็กจะจัดส่งรายงานความก้าวหน้า พร้อมรูปถ่ายของเด็กคนที่ท่านอุปการะไปให้
ในกรณีที่ท่านประสงค์จะอุปการะเด็กต่อ ท่านสามารถแจ้งความจํานงมาที่มูลนิธิเด็กได้
หากเด็กคนที่ท่านอุปการะอยู่นั้น พ้นจากความดูแลของเรา
ทางมูลนิธิเด็กจะแจ้งให้ท่านทราบพร้อมกับส่งประวัติเด็กคนใหม่ไปแทน
เพื่อให้ท่านพิจารณาและตัดสินใจว่าจะบอกรับอุปการะในงวดต่อไปหรือไม่
ในกรณีของเด็กที่อยู่ในความดูแลของโรงเรียนหมู่บ้านเด็กและโรงเรียนอนุบาลฯ
เด็กคนหนึ่งๆ จะต้องมีผู้อุปการะรายอื่นๆ ร่วมด้วย
เพื่อให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายของเด็กแต่ละคนที่มูลนิธิเด็กรับภาระอยู่
และท่านสามารถไปเยี่ยมเด็กได้ แต่เด็กอาจจะไม่คุ้นเคยและแสดงอาการสนิทสนมด้วย
นอกเสียจากว่าก่อนหน้านี้ ท่านได้เขียนจดหมาย
เพื่อให้เด็กทําความรู้จักอยู่สม่ําเสมอ ความเป็นกันเองย่อมเกิดขึ้น
แน่นอนว่าถ้าท่านไปเยี่ยมเด็ก กรุณาอย่าถามเรื่องเก่าๆ ที่เป็นปมด้อยของเด็ก
เพราะหลายเรื่องเด็กอยากจะลืมเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่
ทางเราต้องขอขอบคุณผู้บริจาคทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง
ที่ร่วมกันแบ่งปันเพื่อดูแลเด็กด้อยโอกาส ให้เติบโต งดงาม ตามวัย
จนเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และสร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคมไทยต่อไป