กิจกรรมที่ทำแล้วลูกสมองฝ่อ :
สมองของเด็ก ๆ ใน 2 ปีแรกของชีวิต จะเติบโตอย่างน่าเหลือเชื่อ
และใหญ่ขึ้นเป็น 3 เท่าของขนาดสมองตอนแรกเกิด
ซึ่งพัฒนาการในช่วงนี้นั้นเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์แล้วละค่ะ
หากสมองของเด็ก ๆ ได้รับการกระตุ้นน้อยเกินไป หรือมากเกินไป
ก็จะส่งผลไปตลอดชีวิตของเขาเลยนะคะ
กุมารแพทย์และนักวิจัยเผยให้เห็นการทำงานระหว่าง สมองของเด็กปกติ
และเด็กกำพร้า ซึ่งความแตกต่างนั้นส่งผลชัดเจนค่ะ
เด็กที่ได้รับการกระตุ้นน้อยจะมีพื้นที่ในสมองที่ไม่ได้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
และสำหรับการกระตุ้นที่เยอะมากเกินไปล่ะ คำตอบเป็นอย่างนี้ค่ะ
ดูทีวี สมองฝ่อ จริงเหรอ ?
ไม่ถึงกับฝ่อ แต่การให้เด็กๆ ดูทีวี ยูทูป หรือภาพเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ตาม
ที่เปลี่ยนเร็วมากเกินไป ก่อนช่วงอายุ 3 ขวบนั้น
จะทำให้มีปัญหาทางด้านสมาธิเมื่อเทียบกับเด็ก ๆ ที่ไม่ได้ดูภาพเหล่านี้เลย
การดูทีวีเพียง 2 ชั่วโมงต่อวัน
ก็สามารถทำให้เด็กมีปัญหาสมาธิได้มากขึ้นถึง 20% แล้วละค่ะ
นอกจากเรื่องเวลาที่เด็ก ๆ ใช้ดูทีวีแล้ว
เรื่องของเนื้อหาในนั้นก็เป็นส่วนสำคัญค่ะ รายการเด็กอย่าง Baby Einstein
หรือรายการที่ทำมาสำหรับเด็ก ๆ โดยเฉพาะ
บางรายการก็ไม่ได้สร้างมาเพื่อพัฒนาสมองของเด็ก ๆ อย่างแท้จริงค่ะ
|
ผลกระทบไม่ใช่เด็ก ๆ เท่านั้น
ทีมนักวิจัยที่ทำการสังเกตุการณ์พบว่า การที่เด็ก ๆ
รับสารจากภาพและเสียง ทำให้เกิดการกระตุ้นของสมองที่มากเกินไป
เวลาการนอนหลับที่ดึกไป และระบบประสาทที่ตื่นตัว
จะทำให้อาการโดยรวมนั้นเกิดภาวะของ electronic screen syndrome
ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ อารมณ์ไม่ดี
และมีปัญหาด้านสมาธิ ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเสียหายของสมองนั่น
เองค่ะ
ซึ่งปรากฎการณ์ของสื่อดิจิตอลที่ทำให้เกิดการติดสื่อดิจิตอลในผู้ใหญ่
จะไม่ร้ายแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นในเด็ก ๆ
เนื่องจากสมองของผู้ใหญ่นั้นพัฒนาเต็มที่แล้ว จึงรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะหยุด
กลับกันกับสมองของเด็ก ๆ เนื่องจากสมองของเด็ก ๆ ยังพัฒนาไม่เต็มที่
จึงไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ควรพัก เมื่อไหร่ควรหยุด
อย่าเพิ่งโทษพ่อแม่
อย่าเอาผลการวิจัยที่เกิดขึ้นเป็นแนวทางเพื่อที่จะตัดสินคุณพ่อคุณแม่ที่
เลี้ยงลูกติดหน้าจอค่ะ งานวิจัยนั้นเกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางแก้ไข
หาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด หากไม่รู้แนวทางที่ไม่ดี
เราจะไม่สามารถหาแนวทางที่ดีที่สุดได้นั่นเองค่ะ
|
มือถือ แทปเล็ต คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เหล่านี้ไม่เหมือนทีวีค่ะ เนื่องจากเราต้องการมีตอบสนอง
และโต้ตอบไปมา (interactive) แต่ก็ยังต้องใช้ในเวลาที่เหมาะสมอยู่ดี
นั่นหมายถึงต้องหลัง 2 ขวบขึ้นไป และใช้เพียงแค่ 30-60
นาทีต่อวันเท่านั้นค่ะ
อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ นั้น
เป็นเพียงการจำลองการเล่นของเล่นเด็ก จำพวกการต่อบล็อก เปิดไพ่จับคู่
การ์ดคำศัพท์ต่าง ๆ ทำให้ของเล่นเหล่านี้สะดวกมากขึ้น
และต้องอยู่ในการดูแลของคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกันค่ะ
ให้ลูกเจอประสบการณ์จริงดีที่สุด
พาลูก ๆ ไปข้างนอก ไปเจอสิ่งต่าง ๆ สลับกับการอยู่ในบ้านบ้าง
เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนด้วยนะคะ
ทั้งนี้การเล่นนอกบ้านยังเป็นการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายจากวิตามิน
ดีที่ได้จากแสงแดด และการออกกำลังกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก และมัดใหญ่
ช่วยให้เด็ก ๆ เข้าสังคมกับคนอื่นได้จากการเล่นกับเด็ก ๆ หรือคนอื่น ๆ ค่ะ
ขอบพระคุณที่มา
|