สาเหตุของโรคซึมเศร้าในเด็ก มักประกอบไปด้วย
ทางชีวภาพ เกิดจาก
พันธุกรรม ถ้ามีประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้า มากกว่าเด็กทั่วไป
ยาบางชนิดสามารถทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดความดัน สารเสพติด เป็นต้น
โรคบางชนิด เช่นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เป็นต้น
ทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
ประกอบไปด้วย ความเครียด ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาในครอบครัว
การทะเลาะกับแฟน ผลการเรียนตกต่ำ การคบเพื่อน ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งเสมอ ๆ
หรือรู้สึกไม่ชอบ กลัว กังวล กับบุคคลรอบข้าง หรือ
เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง กลัวการแข่งขัน
พ่อ แม่ ควรสังเกตอาการลูกด้วยตนเอง..ก่อนสายเกินแก้
เด็กเริ่มเก็บตัว ไม่ค่อยพูดเหมือนก่อน
เศร้า ร้องไห้ หงุดหงิดง่าย ทำอะไรก็ผิดหูผิดตา หงุดหงิดไปซะหมด
ไม่ชอบทำกิจกรรมที่เคยชอบทำมาก่อน เช่นชอบวาดรูป แต่ตอนนี้ไม่ชอบแล้ว
ไม่อยากทำอะไรเลย นอนทั้งวัน แอบร้องไห้คนเดียว
บ่นอยากตาย
วิธีรับมือ…เมื่อลูกเป็นโรคซึมเศร้า
พ่อแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูก สังเกตพฤติกรรม สอบถามอาการสารทุกข์สุกดิบ
ถามถึงความสุขของลูก เพื่อช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้น
ก่อนที่ลูกจะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
การทำกิจกรรมร่วมกับลูก ไปทำกิจกรรมใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ
เพื่อให้เด็กมีความสุขเพิ่มขึ้น
แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ทำให้แย่ลงไปกว่าเดิม
พูดคุยกับลูกโดยเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์
ให้ความเอาใจใส่และความอบอุ่นแก่ลูกอยู่เสมอ
เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่เร่งรัด ให้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย
ไม่ตึงเครียด
คอยสำรวจพฤติกรรมหรือขอความช่วยเหลือจากคุณครูให้ช่วยสอดส่องพฤติกรรมของ
ลูก
และเปิดเผยพูดคุยกับคุณครูเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาของลูกที่พบที่บ้านและ
โรงเรียน เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด
หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
พญ.กมลวิสาข์ เตชะพูลผล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2
โทร 02 617-2444 ต่อ 3219-3220
https://www.phyathai.com/article_detail.php?id=2123
|