วัยเด็กเป็นวัยที่สร้างความสดใส ร่าเริง สร้างสีสันให้กลับคนที่อยู่ใกล้ ทำให้บรรยากาศตอนนั้นน่าอยู่ ทำให้คนรอบข้างมีรอยยิ้มตลอดเวลา แต่ถ้ารอยยิ้มนั้นหายไปเพราะสาเหตุมาจากภาวะซึมเศร้าที่ทำให้พฤติกรรมของเด็กคนนั้นเปลี่ยนไป เนื่องจากเด็กมีการเรียนรู้ที่เร็ว และมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่ายเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่ได้ยิน หรือได้เห็น ซึ่งผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาบอกเกี่ยวกับปัจจัยของโรคซึมเศร้า และแนวทางการรักษา
ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ กล่าวว่า จะต้องแยกก่อนว่ามีภาวะซึมเศร้าแบบใด ภาวะซึมเศร้าถ้ายังไม่จัดการมันก็จะมีแนวโน้มเศร้าเป็นวันๆ เศร้ามากเป็น 1 อาทิตย์ หรือว่าเศร้าเป็น 3 อาทิตย์ แบบนี้ต้องให้จิตแพทย์ตรวจดู อาจจะมีจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคซึมเศร้า ในโรคซึมเศร้าก็จะมีหลายแบบอีก หรือโรคซึมเศร้าสุดๆ อย่างเดียว หรือโรคซึมเศร้าที่สลับกับร่าเริงเป็นอารมณ์สองขั้ว หรือโรคซึมเศร้าที่ทำให้ร่างกายมันอ่อนแอตามมา เป็นภาวะชุกของโรคซึมเศร้าในเด็กวัยเรียนไม่ว่าจะเป็นภาวะทางกาย แล้วก็มาซึมเศร้า หรือว่าซึมเศร้าอยู่แล้วมีปัญหาด้านบุคลิกภาพอันนี้ก็จะมาสัก 40%
เรายังไม่จำแนกว่าเป็นซึมเสร้าประเภทใดเพราะว่าเด็กทุกคนเป็นภาวะซึมเศร้าได้ เพราะอารมณ์ของเด็กจะแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาขึ้นๆ ลงๆ โดยเฉพาะวัยรุ่น ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ไม่สามารถที่จะจัดการอารมณ์ปล่อยให้โมโหตลอดเวลา ปล่อยให้เศร้า ตำหนิเขายิ่งเศร้ายิ่งจำฝังใจ หรือปล่อยให้เขาคิดเองเออเอง
กังวลตลอดเวลาแล้วเราไม่อ่านใจเขาเลย ก็จะทำให้อารมณ์ของเขาสะสมไปเรื่อยๆจนมีฮอร์โมนอารมณ์ทางเพศ กับฮอร์โมนทางสุขน้อยลง เขาก็เริ่มจะมีบุคลิกภาพแปรปรวนมีแนวโน้ม และต้องให้จิตแพทย์วินิจฉัย
|