Charu Mehrotra Director ของบริษัท Startup แห่งหนึ่งส่งลูกของเธอไปเข้าแคมป์ที่ Science Centre Singapore ซึ่งเด็กได้โจทย์มาให้หาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางน้ำ และพวกเขาก็สร้างหุ่นยนต์ Prototype ที่ใช้เก็บขยะนั่นเอง ปัจจุบันลูกของเธอด้วยวัยเพียงแค่ 12 ปี มีทักษะรู้จักและกล้าคิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น เขาสร้างเว็บไซต์เพื่อเปิดให้คนเข้ามาแชร์ไอเดียสำหรับโครงการต่างๆ ซึ่งเธอเองทีแรกก็ไม่รู้ว่า Design Thinking คืออะไร เธอคิดว่าแค่ต้องการส่งลูกไปเข้าแคมป์เรียนรู้โครงการวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ แล้วแคมป์นี้ได้สอนให้ลูกของเธอคิดและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั่นเอง
ต้องบอกว่ารัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับกระบวนการด้าน Design Thinking เป็นอย่างมาก และเป็นส่วนหนึ่งของแผนใหญ่ด้านเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศในปี 2025 มุ่งขับเคลื่อนสู่ประเทศนวัตกรรมโดยนำการออกแบบ (Design) มาประยุกต์ใช้ มีการระบุว่าจะพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีทักษะการแก้ปัญหาด้วย Design Thinking เน้นการเรียนรู้ผ่านทางการเล่นที่ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมและสภาพแวดล้อมดังกล่าว และนี่ไม่ใช่ประเทศแรกที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องนี้ โดยก่อนหน้านี้ที่ประเทศแถบสแกนดิเนเวียอย่าง ฟินแลนด์และสวีเดน ที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็ได้มุ่งไปในทิศทางนี้เช่นกัน
อ้างอิงจาก Straitstimes
ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ
เชื่อว่าอีกไม่นานบ้านเราน่าจะมีคนเอาเข้ามาสอนในระดับประถม แต่เป็นเชิงการเรียนพิเศษเสียมากกว่า อาจเกิดจากโมเดลแฟรนไชส์ หรือมีบุคลากรที่ไปเรียนรู้หลักสูตรนี้มา แล้วปรับให้เข้ากับบ้านเรา แต่ถ้าใช้จ่ายก็คงไม่ใช่ถูกๆ และคงต้องดูเรื่องของคุณภาพด้วย แต่ถ้าให้เข้าไปฝังในหลักสูตรของโรงเรียนกันแล้วหล่ะก็ อันนี้ก็อยากฝากไปถึงผู้ใหญ่ด้านการศึกษา ถ้าอยากให้เด็กไทยรู้จักกล้าคิดนอกกรอบ คิดอย่างสร้างสรรค์ และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง คือ แก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ไม่ใช่การเรียนแบบท่องจำตายตัวในตำรา รู้แต่ทฤษฎี…ก็อยากฝากพิจารณาถึงการปรับหลักสูตรที่มีอยู่
อ่านเพิ่มเติม
Design Thinking กับ 5 วิธีทำให้องค์กรออกสินค้าที่เด็ดและโดนใจผู้ใช้ในตลาด
มาฟังแนวคิดที่ผู้บริหาร IBM, GE, IDEO ใช้ผลักดันให้เกิด ‘กระบวนการคิดเชิงออกแบบ’ ในองค์กรกัน
เรื่อง ปองทิพย์ วนิชชากร
ที่มา/รูปภาพ : https://readthecloud.co/school-4/
|