สวัสดี
ค่ะ วันนี้แม่เจคอบเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่
โดยการรวบรวมประสบการณ์สอนเด็กอ่านหนังสือออกเป็นขั้นตอน
ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบ และการต่อยอดหลังจากที่ลูกอ่านหนังสือออกได้
วิธีการสอนเด็กอ่านหนังสือในปัจจุบันนี้มีหลายวิธีมาก ตามนี้เลยค่ะ
วิธี whole word/sight reading or looksay method
ของ Glen Doman หลักปฎิบัติอย่างย่อๆคือ ดูบัตรคำแยกเป็นกลุ่ม เช่น
กลุ่มผลไม้ กลุ่มสัตว์ ให้ดูบัตรคำอย่างเดียว ห้ามสะกด ห้ามดูรูป
ดูสามกลุ่มต่อวัน กลุ่มละห้าคำ วันละสามครั้ง แต่วิธีนี้ห้ามทดสอบ
ห้ามถามว่าคำนี้อ่านว่าอย่างไร
วิธี โฟนิคส์ของ Rudolph Flecsh ผู้เขียนหนังสือ
Why Johnny Can’t Read หลักการคือต้องรู้จักเสียงก่อน จากนั้นก็ผสมคำ
อ่านออกเสียง เขียนคำ ห้ามเดาคำ แยกคำเป็นกลุ่มโดยดูจากเสียงสระ เช่นกลุ่ม
short a เสียง เเอ๊ กลุ่ม short e เสียง เอะ
วิธีนี้เน้นทดสอบไม่รู้จริงก็ต้องทำแบบฝึกหัดต่อจนอ่านได้ก่อนที่จะเริ่ม
กลุ่มต่อไป
วิธี whole words + Phonics ของ Larry Sanger
ผู้ก่อตั้ง wikipedia
(ความจริงตอนที่เราเอาวิธีเค้ามาใช้นั้นก็ไม่รู้ว่าเค้าเป็นใครเพราะเค้าใช้
ล็อกอิน) วิธีนี้ ดูทั้งคำ ทั้งรูป ออกเสียงสะกดด้วย เดาคำได้ไม่เป็นไร
ดูวันละครั้งสองครั้งหรือแล้วแต่สะดวก
หลังจากที่ทำความเข้าใจกับทั้งสามวิธี จขกทเลือกวิธีที่สามค่ะ
เพราะเชื่อว่าถ้าเราเลือกจุดเด่นของสองวิธีแรกมาปรับใช้ให้เหมาะกับลูกเรา
ผลที่ได้น่าจะดีกว่าการใช้วิธีเดียวเเบบสุดโต่ง อีกอย่างวิธี whole word
มันก็มีข้อเสียคือเด็กๆที่เรียนอ่านหนังสือจากวิธีนี้บางส่วนจะอ่อนการสะกด
คำ ส่วนวิธีโฟนิคส์แบบ 100%
ก็คงจะไม่เหมาะกับเด็กเล็กที่อายุยังไม่ถึงขวบหรือสองขวบด้วยซ้ำ
ดังนั้นวิธีที่สามน่าจะลงตัวสุดๆ
จุดเริ่มต้นของการสอน – วิธี Sight Words และสื่อที่ใช้สอน
ตอนนั้นลูกชายอายุ 15 เดือน เราเริ่มสอนด้วยวิธีการ sight words ก่อน
เพราะว่าลูกยังเล็กมาก ยังพูดหรือออกเสียงไม่ได้
วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือวิธีนี้ เราเริ่มจากการทำบัตรคำด้วยตนเอง
โดยอาศัยวิธีการจากหนังสือ How to Teach Your Baby to Read ของ เกล็น โดแมน
ตอนแรกที่เริ่มทำ เราเริ่มเจอปัญหาคือ ต้องเตรียมอุปกรณ์เยอะ
ต้องมานั่งทำบัตรคำ จัดเก็บ และบันทึกว่าลูกดูคำไหนไปแล้วบ้าง
ปัญหาหลักที่เจอคือลูกชายไม่ชอบดูบัตรคำเอาซะเลย
ทั้งๆที่เราก็ทำทุกอย่างตามที่หนังสือบอกมา มีข้อมูลแน่นปึ๊ก
แต่เจ้าลูกชายพอเจอบัตรคำก็จะหันหน้าหนี หรือทั้งเคี้ยว จับอม
ในที่สุดก็ทำต่อไม่ไหว และต้องหาวิธีใหม่มารับมือกับลูกชาย
หลังจากได้หาข้อมูลจากเวบบอร์ด และบล็อกของแม่โฮมสคูล เราได้มาเจอเวบ Brillkids และได้รู้จักกับโปรแกรม Little Reader
นอกจากนั้นก็ดีวีดีที่เป็นที่นิยมกันคือ You Baby Can Read
เราก็เปรียบเทียบโปรแกรมสองชุดนี้ แล้วตัดสินใจลงตัวกับ Little Reader
เพราะว่าเป็นโปรแกรมที่ใช้ได้ไม่มีจำกัด ต่อเติม ตกแต่ง สร้างบทเรียนเองได้
ทำบัตรคำ ปริ๊นต์บัตรคำได้
และมีหลักสูตรสำเร็จรูปให้เราได้เอามาสอนลูกอีกเป็นเวลาหนึ่งปี
ถ้าเราซื้อดีวีดี ลูกดูจบแล้วก็จบเลย เอาไปต่อยอดไม่ได้ เลยใช้ Little
Reader แค่อย่างเดียว
ตอนแรกก็กังวลเหมือนกัน ว่าลูกยังเล็กนัก จะให้ดูคอมพิวเตอร์ได้หรือ
แต่พอได้โหลดโปรแกรมมาทดลองใช้ ก็รู้ว่า ตัวบทเรียนใช้แวลาน้อยมากๆ
ในหนึ่งวัน ลูกดูบทเรียนสองรอบ รอบละไม่เกินห้านาทีด้วยซ้ำ
อีกอย่างจอคอมเราเป็นจอแบน อัตราการรีเฟรชสูง
ทำให้มีอันตรายน้อยกว่าจอนูนแบบเก่า แถมเจ้าลูกชายก็ชอบดูโปรแกรมมากๆ
หลังจากที่เมินบัตรคำ พอมาเจอ Little Reader ร้องให้ขอดู
ปิดไปก็ร้องทันทีค่ะ พอให้ดูมาได้ระยะหนึ่ง ลูกชายอายุ 1.11 ขวบ
ก็เริ่มอ่านคำแรกให้ฟัง ยังจำได้ดีว่า คำแรกที่ลูกอ่านได้คือคำว่า Truck
พอเริ่มอ่านคำแรกได้ คำอื่นๆก็เริ่มมา พอลูกอายุ 2.2
ขวบก็เริ่มอ่านประโยคง่ายๆในบทเรียนได้
หลักสูตรของ Little Reader จะแบ่งออกเป็นสองเทอม เทอมละ 130 วัน
รวมทั้งหมด 260 วัน เด็กจะเริ่มเรียนอ่านคำเดียวก่อน จากนั้นก็คำคู่ วลี
ประโยค จนสุดท้ายก็เริ่มเรียนอ่านนิทาน หลักๆแล้วหลักสูตร Little Reader
เป็น sight words แต่มีเพิ่มโครงสร้างโฟนิคส์ด้วย ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่
21 ของหลักสูตร
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจเพราะเด็กจะได้เรียนโฟนิคส์ไปด้วยในตัว
|